สังเกตอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยมี “ภาวะซึมเศร้า”

“ภาวะซึมเศร้า” เป็นปัญหาใหญ่ในผู้สูงอายุที่หลายคนมักมองข้าม เพราะไม่ใช่โรคภัยที่แสดงอาการทางร่างกายอย่างชัดเจน แต่แท้จริงแล้วหากปล่อยไว้ภาวะเช่นนี้จพกัดกร่อนจิตใจ และอาจนำไปสู่ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งกระทบต่อความสุขในชีวิต และยังอาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย                 หากผู้สูงอายุมี “ภาวะซึมเศร้า” ท่านควรทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุมีอาการดังต่อไปนี้ 1.กินอาหารได้น้อยมาก หรือแทบไม่กินเลย น้ำหนักลดลง คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  ผู้สูงอายุที่กินอาหารได้น้อยลงหรือน้ำหนักลดลง มีโอกาสที่จะขาดสารอาหาร ควรดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ให้กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย และไม่กระทบต่อโรคประจำตัว 2.เบื่อหน่ายมาก อะไรที่เคยชอบก็ไม่อยากทำ/ไม่ค่อยสนใจ หรือไม่สนใจที่จะดูแลตัวเอง จากที่เคยเป็นคนใส่ใจดูแลตนเองมาก แต่ตอนนี้กลับไม่สนใจการแต่งตัว/ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง แม้แต่เรื่องง่ายๆ เช่น การแต่งตัว คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  พยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมง่ายๆ  ให้เขารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดช่องปาก กระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย และหากผู้สูงอายุมีปัญหาทางการได้ยิน ควรพบแพทย์เพื่อใส่เครื่องช่วยฟัง หรือหากมีปัญหาด้านการมองเห็น ควรให้ตรวจสายตาและใส่แว่นตา 3.ชวนไปไหนก็ไม่ค่อยอยากไป คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล    กรณีผู้สูงอายุปลีกตัวจากผู้อื่น ใครชวนไปไหนก็ไม่อยากไป ถ้าปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้จะทำให้ผู้สูงอายุปลีกตัวมากขึ้น อารมณ์จะยิ่งเลวร้ายลง ควรหากิจกรรมทำ โดยควรเริ่มจากกิจกรรมเล็กๆ ในครอบครัว 4.ตอนกลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  หากผู้สูงอายุนอนกลางวัน แต่ถ้าง่วงมากให้นอนได้ระหว่าง 12.00-14.00 น. […]